หนังออนไลน์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสงครามโลกครั้งสองของพรรคนาซีกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นเสมือนบาดแผลของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เมื่อชาวยิวนับล้านคนต้องสังเวยชีวิตไปอย่างไร้มนุษยธรรม หนังใหม่ ผู้คนจำนวนมากบาดเจ็บล้มตายเพราะไฟสงคราม ไม่ว่าคุณจะมีอาชีพอะไร สงครามก็ไม่เคยยกเว้น
ดูหนังฟรี The Pianist เป็นเรื่องราวชีวิตจริงของนักเปียโนชื่อ วลาดิสลาฟ สปิลมัน ซึ่งเป็นชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว เขามีอาชีพเป็นนักดนตรีที่ต้องเล่นเปียโนผ่านรายการวิทยุของกรุงวอซอร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อทหารเยอรมันบุกกรุงวอร์ซอว์ ความเป็นยิวก็ทำให้เขาต้องพบกับความสูญเสีย จนเรียกได้ว่าเขาแทบจะเอาชีวิตไม่รอด เสียงเพลงจากปลายนิ้วของเขาคือสิ่งเดียวที่ช่วยเยียวยาจิตใจ และทำให้เขารอดพ้นความตายมาได้
The Pianist หนังออนไลน์ ได้สะท้อนภาพช่วงเวลาแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างตรงไปตรงมามากกว่า หนังออนไลน์ เรื่องอื่น ๆ โดยผู้กำกับ โรมัน โปลันสกี้ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวทั้งด้านดีและร้ายของตัวละครได้อย่างทะลุสุดขั้วหัวใจ จนทำให้สามารถคว้ารางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม , รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รวมทั้งรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์มาครองได้สำเร็จ
The Pianist เรื่องย่อ หนังออนไลน์ พอสังเขป
ดูหนังออนไลน์ กันยายน ปี 1939 (พ.ศ.2482) วลาดิสลาฟ สปิลมัน กำลังเล่นเปียโนให้กับสถานีวิทยุกรุงวอซอว์ เสียงเพลงอันไพเราะเพราะพริ้ง ถูกตัดจังหวะจนทุกคนสะดุ้งเพราะเสียงทิ้งระเบิดของฝ่ายนาซีเยอรมัน คือสัญญาณให้ทุกคนรู้ว่าสงครามได้ย่างกรายเข้าสู่กรุงวอซอว์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สมาชิกครอบครัวของเขาทั้ง 6 คนกำลังเตรียมรับสถานการณ์สงคราม ขณะที่มีข่าวที่เหมือนจะเป็นข่าวดีว่าอังกฤษได้ประกาศสงครามกับเยอรมันแล้ว และฝรั่งเศสกำลังจะประกาศสงครามด้วยเช่นกัน แต่ทว่าก็ยังไม่มีผลอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะกองทัพนาซีเยอรมันได้ยาตราทัพเข้ายึดครองโปแลนด์โดยสมบูรณ์ ครอบครัวสปิลมันและชาวยิวในโปแลนด์เริ่มผจญชะตากรรมต่างๆ เป็นลำดับ เช่น จำกัดจำนวนเงินของชาวยิว , ห้ามชาวยิวเข้าร้านอาหาร , ห้ามใช้สวนสาธารณะ ม้านั่ง และห้ามสัญจรบนทางเท้า ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีการประกาศให้ชาวยิวติดสัญลักษณ์ดาว 6 แฉก เพื่อบ่งบอกความเป็นยิว ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 1939 (พ.ศ.2482) และต่อมาก็ให้ชาวยิวย้ายเข้าไปภายในเขตกักกัน (Ghetto) ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 1940 (พ.ศ.2483)
ขณะอยู่ในเขตกักกัน ครอบครัว สปิลมัน ได้รับความลำบากยากแค้น แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ลำบากกว่ามาก สปิลมันได้งานทำโดยเป็นนักดนตรีประจำร้านอาหารในเขตกักกัน
16 สิงหาคม 1942 (พ.ศ.2485) ปีเดียวกัน ครอบครัวสปิลมันและชาวยิวอื่นๆ ก็ถูกกวาดต้อนมายังสถานีรถไฟแห่งหนึ่ง ซึ่งทุกคนกำลังจะถูกสั่งตัวไปค่ายกักกัน แต่ในขณะที่สปิลมันถูกต้อนขึ้นไปในรถไฟพร้อมกับครอบครัว เข้าก็ได้รับการช่วยเหลือจากตำรวจยิวคนหนึ่งซึ่งรู้จักกับเขา โดยแกล้งทำทีเป็นคว้าคอเสื้อเขาแล้วเหวี่ยงกระเด็นจากฝูงชนลงไปกองอยู่ที่พื้น ทำให้เขารอดพ้นจากการกวาดต้อนไปที่ค่ายแห่งความตาย แต่นั้นก็หมายถึงเขาต้องอยู่ห่างจากครอบครัว เขามองเห็นแม่และพี่สาวน้องสาว กำลังถูกต้อนขึ้นรถไฟ พ่อของเขามองหาเขาอยู่ เมื่อเห็นเขา พ่อก็โบกมืออำลาอย่างเศร้าสร้อยและสิ้นหวัง
สปิลมันยังคงหลีกเลี่ยงความตายได้อย่างหวุดหวิดถึงแม้ตัวเองจะอด ๆ ยากๆ และเดียวดาย เขาซ่อนตัวอยู่ในมุมมืดของตึกที่ถูกทิ้งร้างเสียหายจากเพลิงไหม้หรือลูกระเบิด สลับกับการช่วยเหลือจากเพื่อนชาวโปแลนด์ที่เสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อนำอาหารมาให้เขา เพราะการช่วยเหลือชาวยิวหมายถึงการเอาปืนมาจ่อหัวตัวเอง
สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลองไปเรื่อย ๆ เมื่อเกิดเหตุจลาจลโดยชาวยิวที่ลุกฮือต่อต้านทหารนาซี ทำให้เกิดการกวาดล้างชาวยิวที่รุ่นแรงขึ้น สปิลมันต้องอยู่อย่างหลบ ๆ ซ้อน ๆ เขาต้องหาที่ซ้อนตัวใหม่ ๆ เสมอ เพื่อไม่ให้ทหารนาซีหาเจอ
วันหนึ่งสถานการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อสปิลมันได้พบกับนายทหารนาซีคนหนึ่ง นายทหารนาซีเยอรมันจ้องมองสภาพที่อดโซและหนวดเครารุงรังของเขาอยู่ครู่หนึ่ง เขาแทบจะหยุดหายใจด้วยความกลัว แต่วินาทีต่อมานายทหารคนนี้กลับไต่ถามเรื่องราวต่าง ๆ และได้ขอให้สปิลมันเล่นเปียโนให้ฟัง ในวันต่อมานายทหารผู้นี้ก็ได้นำเอาอาหารมาให้เขา และกลายเป็นผู้ที่ช่วยเหลือเขามาโดยตลอดจนกระทั้งถึงวันสุดท้ายที่กองทัพนาซีเยอรมันจะต้องถอยหนีกองทัพแดงที่กำลังรุกคืบเข้ามา ช่วงเวลาสุดท้ายเขายังได้ทิ้งเสื้อคลุมไว้ให้สปิลมันไว้ใส่กันหนาวในช่วงที่หิมะตก
เมื่อกองทัพแดงรัสเซียเข้ายึดครองพื้นที่ เสื้อคลุมตัวนี้ก็เกือบทำให้สปิลมันถูกทหารโปแลนด์ยิงตายเพราะเข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นทหารนาซีเยอรมัน แต่ในที่สุดเขาก็รอดชีวิตมาได้ ในขณะที่นายทหารเจ้าของเสื้อคลุมตัวนี้กลับโชคร้าย เพราะเมื่อกองทัพนาซีพ่ายแพ้ เขาถูกจับกุมและส่งตัวไปยังไปค่ายกักกันเชลยศึกของรัสเซีย แม้ว่าสปิลมันพยายามจะตามหาเขาแต่ก็ไม่พบเสียแล้ว
ฉากดนตรีที่ทรงพลัง
สำหรับนักดนตรีทั้งหลายที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ คงจะตราตรึงกับฉากที่สปิลมัน นั่งอยู่หน้าเปียโน แต่ไม่สามารถที่จะเล่นมันได้ เพราะทหารนาซีเยอรมันจะได้ยิน เขาจึงวิธีพรมนิ้วไปบนอากาศเหนือแป้นคีย์เบอร์ แล้วใช้จินตนาการว่าตัวเองกำลังเล่นเปียโน ซึ่งเสียงที่เขาได้ยินในหัวช่างไพเราะราวกับว่าดนตรีได้ปลดปล่อยเขาออกจากเมืองแห่งสงครามเข้าสู่ดินแดนแห่งพระเจ้าอันสงบสุข
กับอีกฉากหนึ่งที่สปิลมันเล่นเปียโนด้วยความรู้สึกอันอัดอั้นให้นายทหารนาซีเยอรมันฟัง ในฉากนี้นักแสดงได้ถ่ายทอดอารมณ์ความเป็นศิลปินออกมาได้อย่างเต็มเปี่ยม เสียงเปียโนที่ก้องกังวานคล้ายจะปลุกเมืองอันรกร้านที่เต็มไปด้วยเศษซากปรักหักพังให้ดูอ้างว้างอึมครึมมากขึ้นเป็นสองเท่า
นายทหารนาซี
สำหรับชะตาชีวิตของนายทหารนาซีเยอรมันคนดังกล่าว คำบรรยายท้ายเรื่องกล่าวเพียงสั้น ๆ ว่าเขาได้เสียชีวิตในค่ายเชลยศึกของรัสเซีย ในวันที่ 13 สิงหาคม 1952 (พ.ศ.2495)
ซึ่งจะว่าไปแล้วสำหรับภาพยนตร์เรื่อง The Pianist นายทหารนาซีเยอรมันคนนี้ คือตัวละครคนหนึ่งที่ผู้ชมกล่าวถึงและให้ความสนใจมากที่สุด เพราะอยากรู้ว่าเขาคือใคร มาจากไหน และพื้นฐานจิตใจเป็นอย่างไร ทำไมถึงเลือกที่จะปฏิบัติเช่นนั้น
ซึ่งหลังจากได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่า นายทหารนาซีเยอรมันคนนี้มีตัวตนจริง ๆ โดยที่เขามีชื่อว่า Wilhelm Hosenfeld โดยเขาเป็นคนที่ค่อนข้างเคร่งศาสนา เพราะรากเง้าเดิมของครอบครัวมีศรัทธาในคริสต์ศาสนานิกายโปแทสแทนอย่างมาก นี้คงจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เมื่อเขาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคนาซีตั้งแต่ปี 1935 (พ.ศ.2478) จนกระทั่งได้มาประจำการในโปแลนด์ เขาก็มีความคิดที่ไม่เห็นด้วยกับการเข่นฆ่าผู้คนอย่างไร้เหตุผล จนเขาได้แอบใช้ตำแหน่งหน้าที่ของเขาคอยช่วยเหลือผู้คนทั้งชาวโปแลนด์และชาวยิวให้รอดพ้นจากความตายเอาไว้เป็นจำนวนมาก
แต่น่าเสียดายที่เมื่อเขาถูกจับเป็นเชลยศึกในเวลาต่อมานั้น ฝ่ายรัสเซียไม่เชื่อว่าเขาจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมต่าง ๆ ของกองทัพเยอรมัน เขาถูกลงโทษให้ทำงานในค่ายกักกันเป็นเวลา 25 ปี แต่เขาอยู่ในค่ายกักกันได้เพียงประมาณ 10 ปี ก็เสียชีวิต โดยที่ยังไม่เคยไม่ได้รับการยกย่องใด ๆ ในฐานะผู้ยืนหยัดอยู่ข้างมนุษยธรรม
ที่ให้ลูกหลานของ วลาดิสลาฟ สปิลมัน และผู้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากเขา ได้เรียกร้องให้มีการสดุดีในวีรกรรมอันกล้าหาญของนายทหารนาซีผู้ซึ่งยืนหยัดอยู่ข้างมนุษยธรรม
จนกระทั่งประธานาธิบดีโปแลนด์ได้ประกาศมอบเหรียญ Commander’s Cross of the Order of Polonia Restituta ให้แก่ร้อยเอก Wilhelm Hosenfeld เพื่อสดุดีในวีรกรรมของเขา
และสำหรับบทความที่เขียนขึ้นชิ้นนี้ก็เช่นเดียวกัน ขออุทิศให้แด่ร้อยเอก Wilhelm Hosenfeld นายทหารนาซีเยอรมันผู้ที่ยังไม่ได้รับการยกย่อง
จบไปแล้วกับการรีวิว หนังออนไลน์ The Pianist นายทหารนาซีเยอรมันผู้ช่วยชีวิต สปิลมัน คือใคร อย่าลืมติดตาม การรีวิวหนังและดูหนังดราม่า หนังประวัติศาสตร์ หนังสงคราม หนังใหม่ ๆ ได้ที่ ” moviethai “